เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค 2. นาลันทสูตร

“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้น จักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี
ธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญาอย่างนี้
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลานี้ด้วย
ใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีปัญญา
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในเรื่องนี้ เธอไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว
อาสภิวาจาอย่างยิ่งนี้ เธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยของ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้
วิธีการอนุมาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองชายแดนของพระราชามีรากฐานมั่นคง
มีกำแพงและป้อมค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียว
ฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจ
ดูหนทางไปรอบเมืองนั้น ไม่พบรอยต่อหรือช่องกำแพง โดยที่สุดแม้พอที่แมวรอด
ออกไปได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิดจะเข้าหรือออกที่เมืองนี้ จะเข้าหรือออก
ทางประตูนี้เท่านั้น’ แม้ฉันใด วิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบ
ว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :231 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
2. นาลันทวรรค 3. จุนทสูตร

5 ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน 4 ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริง ได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ทรงละนิวรณ์ 5 ประการอันเป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน 4 ประการ
ทรงเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริง จักตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ 5
ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน 4 ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ 7 ประการตามความเป็นจริง ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร เพราะเหตุนั้น เธอพึงกล่าวธรรมบรรยายนี้เนืองๆ
แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยว่าโมฆะบุรุษเหล่าใดจักมีความ
เคลือบแคลงหรือความสงสัยในตถาคต โมฆะบุรุษเหล่านั้นจักละความเคลือบแคลง
หรือความสงสัยในตถาคต เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้”1

นาลันทสูตรที่ 2 จบ

3. จุนทสูตร
ว่าด้วยจุนทสมณุทเทส

[379] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้าน
นาฬกคาม แคว้นมคธ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก อนึ่ง จุนทะ
สมณุทเทส2 เป็นผู้ปรนนิบัติท่าน
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั้นแล ทีนั้น จุนทะ
สมณุทเทสจึงถือบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง